จัดโปรโมชั่น อบรม จป ชลบุรี รับส่วน 50% โดยไม่ต้องสมัครสมาชิก

บทบาท หน้าที่ คปอ. ตามกฎหมายมีอะไรบ้าง

by admin

มาทำความรู้จักกับ บทบาท หน้าที่ คปอ. ตามที่กฎหมายกำหนด มีอะไรบ้าง

วันนี้เราจะพามารู้จักกับ บทบาท หน้าที่ คปอ. ว่ามีอะไรบ้าง คปอ. คือ กลุ่มบุคคลสำคัญเป็นผู้พลักดันการขับเคลื่อนนโยบายด้านความปลอดภัยในการทำงานใน ซึ่งผ่านการ อบรม คปอ ตามกฎหมาย กลุ่มคนเหล่านี้ได้รับการเลือกตั้งแต่งตั้งโดยมีตัวแทนของแต่ละฝ่ายทั้งตามสัดส่วนลูกจ้าง และ ฝ่ายนายจ้าง นี่จึงเป็นเหตุผลและที่มาของความสำคัญที่วันนี้เราจะพามารู้จักกับ คปอ. ให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งหากสถานประกอบกิจการใดมี คปอ. เราจะเห็นกิจกรรมส่งเสริมด้านความปลอดภัยที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานกับผู้ที่อยู่ในสถานประกอบกิจการทุกคน

ซึ่งสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้าง 50 คนขึ้นไป ต้องจัดให้มีคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ ภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีลูกจ้างครบจำนวน ซึ่งคณะกรรมการความปลอดภัย เป็นคณะบุคคล ที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนด้านความปลอดภัยของสถานประกอบกิจการ ให้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อความปลอดภัยในการทำงานสำหรับทุกคนที่เข้ามาในสถานประกอบกิจการ

หน้าที่ของ คปอ. 11 ข้อ

  1. พิจารณานโยบายและแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งความปลอดภัยนอกงาน เพื่อป้องกันและลดการเกิดอุบัติเหตุ การประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงาน หรือความไม่ปลอดภัยในการทำงานเสนอต่อนายจ้าง
  2. รายงานและเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานและมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้าง เพื่อความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ผู้รับเหมา และบุคคลภายนอกที่เข้ามาปฏิบัติงานหรือเข้ามาใช้บริการในสถานประกอบกิจการ
  3. ส่งเสริมสนับสนุน กิจกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถาประกอบกิจการ
  4. พิจารณาข้อบังคับและคู่มือตามข้อ 3 รวมทั้งมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถาประกอบกิจการเสนอต่อนายจ้าง
  5. สำรวจการปฏิบัติการด้านความปลอดภัยในการทำงาน และตรวจสอบสถิติการประสบอันตรายที่เกิดขึ้นในสถานประกอบกิจการนั้น อย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง
  6. พิจารณาโครงการหรือแผนการฝึกอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานรวมถึงโครงการหรือแผนการอบรมเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในด้านความปลอดภัยของลูกจ้าง หัวหน้างาน ผู้บริหาร นายจ้าง และบุคลากรทุกระดับเพื่อเสนอความเห็นต่อนายจ้าง
  7. วางระบบการรายงานสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยให้เป็นหน้าที่ของลูกจ้างทุกคนทุกระดับต้องปฏิบัติ
  8. ติดตามผลความคืบหน้าเรื่องที่เสนอนายจ้าง
  9. รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี รวมทั้งระบุปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการเมื่อปฏิบัติืหน้าที่ครบหนึ่งปี เพื่อเสนอต่อนายจ้าง
  10. ประเมิณผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
  11. ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย

เพิ่มเพื่อน

ใบรับรองหน่วยฝึกอบรม

Copyright @2023 – All Right Reserved. Designed and Developed by อบรม จป ชลบุรี